5.วิธีการลดโลกร้อน
5.1 แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งปัญหาต่างๆมากมายและเป็นสิ่งใกล้ตัวเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กในช่วงหน้าแล้งของทุกปี ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย ฝนตกหนัก ปัญหาน้ำท่วม โคลนถล่ม ภัยแล้ง หรือแม้กระทั่ง ภาวะแมลงปีกแข็งจำนวนมากทำลายพืชผลทางการเกษตรฯลฯดังนั้นประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนเพื่อที่จะช่วยลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา นั่นคือต้องมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและร่วมมือกันในการลดของเสียต่างๆ ดังนี้
-การลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง (น้ำมัน) เนื่องจากมีการใช้เกินความจำเป็น ขาดความเอาใจใส่ รอบคอบ ไม่คิดก่อนใช้ ทำให้เกิดการรั่วไหลสูญเปล่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หากมีการใช้เชื้อเพลิงที่เหมาะสมนอกจากจะลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนและลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงยังสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วยเช่น ตรวจเช็คลมยางเป็นประจำไม่ควรติดเครื่องไว้เมื่อจอดรถ ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่าง ตรวจเครื่องยนต์ตามกำหนด ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด เป็นต้น
-ลดการใช้น้ำ น้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติมีความสำคัญอย่างยิ่งในการใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ดังนั้นหากมีการใช้น้ำอย่างไม่ประหยัด น้ำสะอาดอาจมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ เช่น ใช้น้ำอย่างประหยัด อาบน้ำใช้ฝักบัว ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาการล้างมือ เป็นต้น
-ลดการใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบกิจการต่างๆการประหยัดไฟฟ้าที่ทุกคนสามารถทำได้ เช่น ปิดสวิตซ์ไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เมื่อไม่ใช้งานเป็นต้น
-การลดการใช้พลังงานอื่นๆ เช่น อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ รู้จักแยกแยะประเภทขยะ งดบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้ง กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน เป็นต้น
-การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานที่ได้มาจากธรรมชาติ แหล่งของพลังงานหมุนเวียน คือ พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น
Ref: http://www.greennet.or.th/
5.2 พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน
คือชื่อที่ใช้เรียกพลังงานที่มาจากแหล่งผลิตที่แตกต่างจากที่เราเคยมีในอดีต ส่วนใหญ่มักมาจากผลงานในด้านลบของการใช้งานของมัน ในอดีต พลังงานที่พวกเราใช้ มาจาก ถ่านหิน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ แต่ในศตวรรษที่ 21 ได้มีการคิดค้น พลังงานรูปแบบใหม่ๆ เช่น พลังงานทางชีวภาพต่างๆ ที่ได้จาก น้ำมันปาล์ม เอธานอล เป็นต้น
ในช่วงทศวรรษ 1200 ถึง 1500 ถ่านหินได้ถูกใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักของมนุษย์ ก่อนที่จะมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในช่วงทศวรรษ 1800 และช่วงทศวรรษ 1900 มนุษย์ได้มีความพยายามที่จะหาพลังงานทางเลือกใหม่ๆ เนื่องจากน้ำมัน และถ่านหินหมดลงอย่างรวดเร็ว ในปี 1917 อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ได้คิดค้นการสร้างน้ำมันเชื้อเพลิง จากเอธานอล ซึ่งสามารถผลิตได้จากข้าวโพด ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 ถึง 1960 มนุษย์เริ่มใช้พลังงานจากวัตถุที่ใช้ซ้ำได้ ประเทศสหรัฐฯ และ บราซิล คือ 2 ประเทศที่มีการใช้พลังงานจากเอธานอลมากที่สุด ในช่วงทศวรรษ 2000 เริ่มมีการคิดค้นพลังงานชีวมวลแบบใหม่ๆ เช่น ไฮโดรเจน หรือ นิวเคลียร์ มาแทนพลังงานจากฟอสซิล ซึ่งส่งผลทำลายใช้บรรยากาศมาเป็นเวลานาน ปัจจุบัน มีการค้นคว้าหาพลังงานทางเลือกใหม่เพื่อการคมนาคมอย่างแพร่หลายในสหรัฐฯและทั่วโลก และได้มีพลังงานใหม่ๆทุกคิดค้นขึ้นมาเพื่อยานพาหนะเช่น พลังงานไฟฟ้า และ พลังงานไฮบริด
ในอดีต การใช้พลังงานทางเลือกใหม่ได้สร้างความขัดแย้งระหว่างบรรดาผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่ายพลังงานบางราย ทำให้เกิดข้อกำหนดที่อนุญาตให้รัฐบาลชักจูงให้การต่อสู้เพื่อแย่งชิงพลังงานจากน้ำมันฟอสซิล และ พลังงานนิวเคลียร์ อย่างไรก็ดี ผลเสียจากการใช้สิ่งเหล่านี้ เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ที่สูงมากในสายตาหลายคน พลังงานทางเลือกใหม่คือแหล่งพลังงานที่มาทดแทนการใช้พลังงานที่ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศและช่วยแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
Ref: http://www.student.chula.ac.th/~56370490/page2.html
5.3 พลังงานแสงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานจำนวนมหาศาลแก่โลกของเราพลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า เนื่องจากสามารถเปลี่ยนเซลล์แสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงส่วนใหญ่เซลล์แสงอาทิตย์ ทำมาจากสารกึ่งตัวนำพวกซิลิคอนมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็น พลังงานไฟฟ้าได้สูงถึง 44 เปอร์เซนต์
ในส่วนของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเกณฑ์สูง พลังงานโดยเฉลี่ยซึ่งรับได้ทั่วประเทศประมาณ 4 ถึง 4.5 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน ประกอบด้วยพลังงานจากรังสีตรง (Direct Radiation )ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ส่วนที่เหลือเป็นพลังงานรังสีกระจาย (Diffused Radiation) ซึ่งเกิดจากละอองน้ำในบรรยากาศ(เมฆ)
ซึ่งมีปริมาณสูงกว่าบริเวณที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรออกไปทั้งแนวเหนือ – ใต้
Ref: http://www.student.chula.ac.th/~56370490/page3.html