ใน ช่วงทศวรรษที่ 1980 การที่โลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้นจากการ เพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมของมนุษย์ได้ เป็นแรงผลักดันให้นานาประเทศหันมาสนใจและตระหนักถึงผลกระทบและความเสียหายใน ด้านต่างๆ ที่จะตามมาโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพื่อเตรียมมาตรการและกลยุทธ์ที่เป็น ไปได้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้จัดทำรายงานที่มีข้อสรุปยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจริง ประกอบกับในปีนั้นได้มีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึ้น จึงทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของ นานาประเทศ
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวจึงเกิดการประชุมระดับนานาชาติขึ้นเพื่อหาแนวทาง ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ มนุษย์โดยได้มีการลงนามรับรองอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ(United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) หรืออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาติ นครนิวยอร์ค ต่อมาประเทศต่างๆ ทั่วโลก จำนวนมากกว่า 150 ประเทศ ได้ลงนามให้สัตยาบัน ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development: UNCED) หรือการประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit) เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1992
จุด ประสงค์หลักของอนุสัญญาฯ ได้จัดทำขึ้น เนื่องจากความกังวลว่า กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ทำให้ระดับก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกในธรรมชาติทวีความรุนแรงขึ้น โดยทำให้พื้นผิวและบรรยากาศของโลกร้อนมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศธรรมชาติ ดังนั้น เพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นกับมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินงานและความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศทั้งหมด อนุสัญญาฯ จึงได้กำหนดหลักการที่สำคัญไว้ ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติระดับโลกที่ต้องการความ ร่วมมือระหว่างประเทศโดยจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและการแก้ปัญหาร่วมกัน ระหว่างประเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามหลักการความรับผิดชอบร่วมใน ระดับที่แตกต่าง (Common but Differentiated Responsibilities) และเป็นไปตามความสามารถและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาฯเพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก ในบรรยากาศให้คงที่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบสภาวะอากาศ ซึ่งวัตถุประสงค์นี้ควรที่จะบรรลุภายในระยะเวลาอันพอ เหมาะกับการให้ระบบนิเวศปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างเป็น ธรรมชาติ และเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่รุนแรงต่อการผลิตอาหาร ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
Ref: http://www.eppo.go.th/index.php/th/plan-policy/climatechange/unitednation/unfccc
1.1 COP หรือในชื่อเต็มคือ Conference of Parties
COP หมายถึงการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ ซึ่งงานนี้ได้จัดขึ้นโดยทาง UNFCCC เพื่อบรรลุข้อตกลงและหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดที่จะเกิดขึ้นจาก วิกฤตโลกร้อน อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุ ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในทางปฏิบัติหมายความว่าเป็นการเจรจาตกลงเพื่อให้นานา ประเทศเห็นพ้องต้องกันในการกำหนดเป้าหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มขึ้นของ อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส (เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม) เพื่อป้องกันภัยพิบัติร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดย ณ ปัจจุบันได้มีการจัดงานประชุมนี้ขึ้นมาแล้ว 22 ครั้ง (COP1-COP22)
Ref: http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/cop21-5/blog/54884/
การจัดงาน COP21 - COP22
COP 1 : 28 March-7 April, 1995 Berlin, Germany
COP 2 : 8-19 July, 1996 Geneva, Switzerland
COP 3 : 1-11 December, 1997 Kyoto, Japan
COP 4 : 2-14 November, 1998 Buenos Aires, Argentina
COP 5 : 25 October-5 November, 1999 Bonn, Germany
COP 6 : (1) 13-25 November, 2000 Hague, Netherlands
COP 6 : (2) 16-27 July, 2001 Bonn, Germany
COP 7 : 29 October-10 November, 2001 Marrakech, Morocco
COP 8 : 23 October-1 November, 2002 New Delhi, India
COP 9 : 1-12 December, 2003 Milan, Italy
COP 10 : 6-18 December, 2004 Buenos Aires, Argentina
COP 11 : 28 November-10 December, 2005 Montreal, Canada
COP 12 : 3-15 December, 2008 Bali, Indonesia
COP 13 : 3-15 December, 2008 Bali, Indonesia
COP 14 : 1-12 December, 2008 Poznan, Poland
COP 15 : 7-18 December, 2009 Copenhagen, Denmark
COP 16 : 29 November - 10 December, 2010 Cancun, Mexico
COP 17 : 28 November 9 December2011, Durban Republic of South Africa
COP 18 : 24 November - 8 December2012 Doha, Qatar
COP 19 : 11-22 November 2013 Warsaw, Poland
COP 20 : 1-12 December2014 Lima, Peru
COP 21 : 30 November -11 December2015 Paris, France
COP 22 : 7 -18 November 2016 Marrakech, Morocco
Ref: http://www.eppo.go.th/index.php/th/planpolicy/climatechange/unitednation/ cop?orders [publishUp]=publishUp&issearch=1
อนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ครั้งที่ 21 หรือ COP 21 ได้บรรลุความตกลงที่สำคัญที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2558 โดยความตกลงดังกล่าวได้กำหนดแนวปฏิบัติพื้นฐานใหม่สำหรับการแก้ปัญหาการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและยุติความแตกต่างระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและ ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นตัวกำหนดความพยายามในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อน หน้านี้ แล้วแทนที่ความแตกต่างดังกล่าวด้วยกรอบความร่วมมือที่มอบหมายให้ทุกประเทศ เพิ่มความพยายามอย่างสุดความสามารถและเสริมความแข็งแกร่งให้กับประเทศเหล่า นั้น ในช่วงหลายปีข้างหน้า ข้อกำหนดในความตกลงนี้ยังรวมถึงการกำหนดให้ประเทศภาคีทุกประเทศรายงานเกี่ยว กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือน กระจกอย่างสม่ำเสมอและให้ประเทศอื่นๆ ดำเนินการตรวจสอบ นี้ ความตกลงและการตัดสินใจร่วมกันของประเทศภาคีคือผลสำคัญของการประชุมครั้งนี้
By Presidencia de la República Mexicana – https://www.flickr.com/photos/presidenciamx/22802505643/, CC BY 2.0, https://commons.wikimedia.org/w/index.php?curid=45354666
ความตกลงปารีสและการตัดสินใจของที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีสาระสำคัญดังนี้
-ยืนยัน เป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิโลกให้สูงขึ้นต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส ขณะที่เพิ่มความพยายามในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้อยู่ที่5 องศาเซลเซียส
-ทำข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมายโดยประเทศภาคีทุก ประเทศเพื่อทำแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เรียกว่า Nationally Determined Contributions (NDCs) และเพื่อดำเนินมาตรการในประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อทำตามข้อตกลงดังกล่าวให้ สำเร็จ
-ตกลงให้ทุกประเทศต้องส่งรายงานเกี่ยวกับปริมาณการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความคืบหน้าในการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานด้านการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NDCs) อย่างสม่ำเสมอ และให้ประเทศอื่นๆ ดำเนินการตรวจสอบ
-ตกลงให้ทุกประเทศต้องส่งแผนการดำเนินงานด้านการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NDCs) ฉบับใหม่ทุกๆ 5 ปี โดยคาดหมายว่าจะต้องมีความคืบหน้าจากแผนฉบับก่อนๆ
-ยืนยันพันธกรณีที่ มีผลผูกพันทางกฎหมานของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วภายใต้ UNFCCC เพื่อสนับสนุนความพยายามของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และส่งเสริมการดำเนินการโดยสมัครใจของประเทศกำลังพัฒนาเป็นครั้งแรกด้วย
-ขยาย เป้าระดมเงินสนับสนุนซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ถึงปี 2563 ให้เป็นปี 2568 และจะกำหนดเป้าหมายใหม่ที่มากกว่าเดิมสำหรับช่วงหลังปี 2568
-ขยาย กลไกเพื่อจัดการความสูญเสียและความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้อง ความรับผิดชอบหรือการชดเชยใดๆ
-ขยายกลไก เพื่อแก้ไขปัญหาความสูญเสียและเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ ซึ่งจะไม่เกี่ยวข้องกับความรับผิดสำหรับความเสียหายหรือการชดเชยใดๆ
-กำหนดให้ประะเทศภาคีต้องเข้าร่วมการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อป้องกันการนับซ้ำ
-เรียกร้องให้มีกลไกใหม่ที่คล้ายกับกลไกการพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโต ซึ่งจะทำให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน 1
Ref: http://www.environnet.in.th/archives/996
เอกสารแนบ Paris Agreement : https://unfccc.int/resource/docs/2015/cop21/eng/l09r01.pdf
-ผู้นำ 195 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุม COP21
โลก ได้จารึกงานประชุม COP21 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน – 11 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นการประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ที่สุดสำหรับงาน COP ที่เคยจัดประชุมมา เพราะเป็นการเจรจาระหว่างผู้นำประเทศ 195 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย มีผู้เข้าร่วมกว่า 50,000 คน ทั้งจากภาคการเมือง ชุมชนทางวิทยาศาสตร์ และภาคประชาสังคม ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และยังได้มีการ ร่วมเซ็นสัญญา Paris Agreement (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก) อีกด้วย
1.3 พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประเทศไทยประกาศเจตนารมย์ ในงาน COP21 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
“วัน นี้ผมมาเพื่อแสดงเจตนารมย์อันแน่วแน่ของประเทศไทย ในการร่วมผลักดันให้การเจรจาการตกลงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ฉบับใหม่ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดภัยพิบัติ ภาวะโลกร้อน น้ำทะเลสูงขึ้น กระทบต่อประเทศหมู่เกาะ และประเทศที่มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก อีกทั้งยังทำให้เกิดภัยแล้ง ขาดน้ำในการทำเกษตร และการอุปโภคและบริโภคอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารและรายได้ของเกษตรกร กระทบต่อแหล่งผลิตอาหารของโลก ตลอดจนทำให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความยากจน ความขัดแย้ง จนอาจทำให้เกิดสงครามแย่งชิงน้ำในโอกาสต่อไป ซึ่งจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาที่รายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ กับผลิตผลทางการเกษตรที่ราคาตกต่ำอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องพัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมสีเขียวในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อส่ง เสริมรายได้และลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปพร้อมๆกันด้วย
ผม อยากให้ทุกๆประเทศคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีการลดก๊าซเรือน กระจกและให้มีการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสมบัติของโลกและมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ประชาคมโลกมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ดูแลรักษาไม่ให้หมดสิ้นไป โดยเฉพาะในการจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 หรือ 2 องศา โดยยึดหลักของความเป็นธรรมและความรับผิดชอบร่วมกันในระดับการพัฒนาที่แตก ต่างโดยจะต้องคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละประเทศด้วย
ผมขอเรียกร้อง ให้ทุกประเทศร่วมมือกันในกรอบเหนือใต้และใต้ๆ ทั้งด้านเงินทุน งานวิจัย การถ่ายทอดพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในการดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน
ไทยได้จัดทำ action plan ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 25 ภายในปี ค.ศ. 2030 มุ่งลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล ใช้พลังงานทอดแทนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น การใช้รถยนต์เครื่องยนต์ไฮบริด เครื่องยนต์ไฟฟ้าให้มากยิ่งขึ้น การลดการขนส่งทางถนนเป็นการเพิ่มการขนส่งทางราง การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนในแผนพลงงานพีดีพี ของไทยให้มากขึ้น ขจัดการบุกรุกป่า ปลูกป่าอาเซียน ทำแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการโดยจัดทำโร้ดแมพการลดหมอกควันเหลือ ร้อยละ 0 และที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรง พระราชทานมากว่า 50 ปีแล้วในรูปแบบประชารัฐ ด้วยความร่วมมือของประชารัฐ เอกชน ประชาสังคม เอ็นจีโอ และประชาชนอย่างจริงจังซึ่งเป็นหลักการสำคัญของไทยที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ การดำเนินการให้บรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 ของสหประชาชาติอีกด้วย
ในฐานะประธานกลุ่มจี 77 ในปีหน้า ประเทศไทยจะมุ่งมั่นอย่างเต็มความสามารถ ในการเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่าง ทั้งภายในและภายนอก กลุ่มจี 77 โดยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนร่วมกันของโลกใบนี้”
Ref:http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1648:seubnews&
catid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14